สร้างเว็บEngine by iGetWeb.com

ขั้นตอนการตรวจสอบการตอกเข็ม

ขั้นตอนการตรวจสอบการตอกเข็ม
ก่อนที่จะตอก

* การขนส่งเสาเข็ม
* การกองเสาเข็ม และการชักลากเสาเข็ม
* การจัดลำดับขั้นตอนการตอกเข็ม และทางเดินปั้นจั่น
* ขนาดรูปร่าง ความยาว อายุเข็ม ถูกต้องตามรูปแบบและรายการประกอบแบบก่อสร้าง
* หัวเข็มได้ฉากกับแนวแกนหรือไม่เอียงเกินข้อกำหนดหรือไม่
* หัวเข็มมีโผล่ซึ่งอาจเป็นอันตรายขณะตอกหรือไม่
* หัวเข็มตามแบบมี DOWEL หรือไม่
* คุณภาพของคอนกรีตและเหล็กเสริมในตัวเข็ม รอย CRACK
* การโก่งงอของตัวเข็ม
* ปั้นจั่นเหมาะสมกับการตอกหรือไม่
* น้ำหนักลูกตุ้มเหมาะสมกับการตอกหรือไม่
* หมวกครอบ กระสอบรองหัวเข็ม
* นั่งร้านแข็งแรงดีหรือไม่
* ในกรณีตอกใกล้สายไฟแรงสูงต้องหุ้มสายไฟ
* ตำแหน่งศูนย์เสาเข็มโดยเฉพาะเข็มเอียงต้อง OFFSET
* อุปกรณ์สำหรับต่อเข็มในกรณีเข็มต่อ
* การเตรียมจดข้อมูลในการตอกเข็ม
* เงื่อนไขสัญญาตอกเข็ม กำหนดด้วยความยาว หรือ BLOW COUNT ฯลฯ
* รายการก่อสร้างมีทดสอบเสาเข็มหรือไม่
* เตรียมแบบฟอร์มการจด BLOW COUNT  และข้อมูลอื่น น้ำหนักตุ้ม สูตรที่ใช้คำนวณ ฯลฯ
ขณะตอก
* การชักลาก และการยก
* ดิ่ง
* ตำแหน่งหลังจากปักเสาเข็มแล้วโดยวัดจากระยะ OFFSET 
* ลูกตุ้มและเสาเข็มตรงศูนย์หรือไม่
* ระยะลูกตุ้ม
* การกรองหัวเข็ม หมวกครอบ
* มีการจดรายงานครบหรือไม่
* BLOW COUNT ผิดปกติหรือไม่
* วิธีการต่อเสาเข็ม
* ความปลอดภัยขณะตอก
* ระดับหัวเสาเข็ม
* หากเข็มตอกไม่ลงหรือหัก หรือ BLOW COUNT ต่ำผิดปกติต้องรีบรายงานวิศวกรผู็รับผิดชอบทันที
หลังตอก

* หากปักหมุดไว้หลาย ๆ หมุด หมุดที่ปักไว้ล่วงหน้าเสียหายหรือถูกดินดันหรือไม่
* TOLERANCE ทั้งตำแหน่งและแนวดิ่ง
* ตำแหน่งที่ทำได้จริง ทำเครื่องหมายแสดงตำแหน่งเสาเข็มที่ตอกเสร็จแล้วในแต่ละวันลงในแบบเพื่อเป็นหลักฐานและป้องกันการสับสน
* ตรวจการเตรียมการทดสอบเสาเข็ม มาตราฐานการทดสอบ เวลาในการทดสอบ วิธีการทดสอบ การเตรียมจดข้อมูล และการทำรายงาน
 
              
              

               
 

Tags : เสาเข็มเจาะ

view